ข้ามไปยังเนื้อหา
ประเภทของสีในงานซิลค์สกรีน

ประเภทของสีในงานซิลค์สกรีน

ในการทำการซิลค์สกรีน

สีที่สกรีนคือหัวใจหลักของการทำงานพิมพ์สกรีน

สีแต่และประเภทก็มีวิธีทำงานแตกต่างกันไป

ควรเลือกสีที่เหมาะกับเรามากที่สุดและทำงานง่ายมากที่สุด

ในบทความนี้เราจะพูดถึงสีและประเภท คุณลักษณะ ข้อดี และ ข้อเสีย ของสีแต่และชนิด

1.สีพลาสติซอล

               เป็นหนึ่งในหมึกพิมพ์ที่ใช้แพร่หลายมาก เนื่องจากหมึกชนิดนี้ให้ความทึบสีที่ดีบนผ้าเข้ม หมึกชนิดนี้สามารถพิมพ์งานได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลายที่มีความละเอียดสูง หรือ ลายที่มีมีความละเอียดต่ำ หมึกพิมพ์พลาสติซอล ต้องใช้ความร้อนอย่างน้อย 150 องศาเซลเซียส ในการทำให้หมึกพิมพ์นั้นเซทตัว และ เซทอยู่บนเนื้อผ้า

ข้อดี

  • สีมีความยืดหยุ่น
  • สีมีความคงทนต่อการซัก
  • สีไม่แห้งเองในอณุภูมิห้อง ไม่ทำให้บล็อคสกรีนอุดตันตอนสกรีน ทำให้การจัดการง่ายขึ้น

ข้อเสีย

  • สีต้องใช้เครื่องอบร้อนเช่นแฟทเคียวเพื่อที่จะทำให้สีเซทตัวบนผ้า
  • ต้องใช้สารเคมีเพื่อทำความสะอาดล้าง
  • ต้นทุนสูง – ค่าไฟในการอบ, ค่าอุปกรณ์อบสี

2.สีเชื้อน้ำ

สีเชื้อน้ำจะสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทใหญ่คือ

  • สีจม
  • สีลอย
  • สียาง

สีจม หรือ เรียกอีกชื่อว่าสีน้ำ งานพิมพ์ที่ออกโดยใช้สีนี้มาจะสวย และ เป็นธรรมชาติ สีจะซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อผ้า

ข้อดี

  • ความสัมผัสที่นุ่มที่สุด
  • เวลาดึงสีจะ ไม่แตก ไม่ลอก

ข้อเสีย

  • สีจะไม่มีผิวสัมผัสที่ด้านหรือเงา
  • ไม่สามารถพิมพ์บนผ้าเข้มได้ เพราะสีของผ้าเข้มจะดูดกลืนเนื้อสีที่พิมพ์ลงไป

สีลอย ถูกพัฒนาขึ้นมาหลังจากสีจมเนื่องจากสีจมไม่สามารถพิมพ์สกรีนบนผ้าเข้มได้ สีจะลอยอยู่บนหน้าผ้า

ข้อดี

  • ผิวสัมผัสจะลอยขึ้นมา – หากพิมพ์สีอ่อนบนผ้าเข้มเช่นสีขาว พิมพ์แค่รอบเดียวสีก็จะเด่นลอยขึ้นมา

ข้อเสีย

  • ไม่ยืดหยุ่น – เวลาสีถูกดึงหรือสีอาจจะเกิดการเสียรูปหรือแตกได้
  • สียางถูกพัฒนาขึ้นมาหลังจากสีลอยเนื่องจากสีลอยนั้นไม่ยืดหยุ่นสียางมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนสีลอยเพียงแต่ว่ามีความยืดหยุ่นมากกว่าสีลอยเวลาดึงสีจะมีความยิดหยุ่น

สียาง ถูกพัฒนาขึ้นมาหลังจากสีลอยเนื่องจากสีลอยนั้นไม่ยืดหยุ่นสียางมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนสีลอยเพียงแต่ว่ามีความยืดหยุ่นมากกว่าสีลอยเวลาดึงสีจะมีความยืดหยุ่น

ลักษณะโดยรวมของกลุ่มสีเชื้อน้ำ

ข้อดี

  • มีผิวสัมผัสที่นุ่มกว่าสีพลาสติซอล
  • ทำความสะอาด เก็บง่าย ไม่ต้องใช้น้ำยาเคมีช่วยในการทำความสะอาด
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนที่จะทำให้สีแห้ง

ข้อเสีย

  • สีจะแห้งเองได้ในอณุภูมิห้องทำให้สีจะเสีย/สีอุดตันในผ้าสกรีน
  • สีจะพิมพ์ลายละเอียดได้ไม่เท่าสีพลาสติซอล

3.สีดิสชาร์จ

สีดิสชาร์จ หรือเรียกอีกอย่างว่า สีกัด เป็นสีอีกประเภทหนึ่งที่คนใช้นิยมพิมพ์ ลักษณะการทำงานของสีดิสชาร์จคือการกัดสีผ้าที่เราพิมพ์

ลักษณะการทำงานของสีดิสชาร์จ

  • 1.ผสมแป้งดิสชาร์จ(ของเหลว) กับ ตัวกระตุ้นดิสชาร์จ(มีลักษณะผง)ในอัตราสัดส่วนที่เหมาะสม
  • 2.หากต้องการกัดสีให้เป็นสีที่เราต้องการก็เติมแม่สีน้ำลงไปในอัตราสัดส่วนที่เหมาะสม
  • 3.แล้วทำการสกรีนปกติ
  • 4.เมื่อสกรีนเสร็จให้นำไปเป่าลมร้อน รีดทับ หรือ อบ สีที่กัดก็จะโผล่ออกมา

ข้อดี

  • ไม่มีผิวสัมผัส
  • ระบายความร้อนได้ดี

ข้อเสีย

  • มีกลิ่นที่เหม็นเมื่อพิมพ์เสร็จ
  • พิมพ์บนผ้า Cotton ได้เท่านั้น และ ผ้าที่รองรับสำหรับการกัดสีเช่นผ้าที่ย้อมด้วยแบบ Reactive
  • ต้องใช้ความร้อนเพื่อทำให้สีที่กัดบนเนื้อผ้าแสดงออกมา
  • หลังผสมเสร็จมีอายุการใช้งานประมาณ 8 ชั่วโมง
  • อันจรายต่อร่างกาย – ควรใส่หน้ากากป้องกันตาและจมูก
บทความก่อนหน้า ผ้ามีกี่ชนิด ? ผ้าแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ?
บทความถัดไป การตกแต่งด้วย กำมะหยี่ บนงานพิมพ์สกรีน